top of page

ตัวอย่างงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย

  • รูปภาพนักเขียน: donana1007
    donana1007
  • 17 ก.ค. 2558
  • ยาว 1 นาที

ตาข่ายหน้าช้าง

ตาข่ายหน้าช้างดอกไม้สดใช้แขวนตามสถานที่ต่างๆ เช่น ประตู หน้าต่าง เป็นต้น เพื่อใช้ประดับตกแต่งสถานที่ให้ดูสวยงามเมื่อมีการจัดงาน ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล

วัสดุ-อุปกรณ์

วิธีทำ

  • ดอกไม้สำหรับร้อยตาข่าย และร้อยเป็นสายโยงเพื่อใช้แขวน เช่น ดอกมะลิ ดอกพุด ดอกรัก เป็นต้น

  • ดอกไม้สำหรับทำดอกตุ้ม เช่น ดอกบานไม่รู้โรย ดอกจำปี ดอกจำปา ดอกชบาหนู ดอกดาวเรือง หรือดอกข่า (ทำด้วยกลีบกุหลาบ)

  • ดอกไม้สำหรับทำดอกสวม ใช้ดอกรัก ดอกพุด ดอกขจร ดอกมะลิ (เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง)

  • ดอกไม้สำหรับทำดอกทัดหู ใช้ดอกไม้ธรรมชาติ เช่น ดอกเยอบีร่า ดอกบานชื่น ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ หรือจะเย็บแบบด้วยกลีบกุหลาบ ดอกบานบุรีก็ได้

  • ดอกไม้สำหรับเย็บสวน ใช้กลีบกุหลาบกับใบก้ามปู ใบกระบือ

  • กาบกล้วย สำหรับใช้รองเย็บแบบสวน

  • ใบตอง สำหรับใช้รองเย็บแบบดอกทัดหูและทำตุ้มดอกข่า

  • ไม้ไผ่ สำหรับทำโครง

  • ฝ้าฝ้ายสีขาว สำหรับพันโครง

  • เข็ม

  • ด้ายที่มีความเหนียวสามารถรับน้ำหนักตาข่ายหน้าช้างทั้งพวงได้

  • ถาดใส่ดอกไม้และใบไม้

  • กระบอกฉีดน้ำ

  • ผ้าขาวบางและผ้าเช็ดมือ

  • มีดบางคมและกรรไกร

ขั้นตอนการเตรียม 1.สำรวจสถานที่ที่จะนำตาข่ายหน้าช้างดอกไม้สดไปแขวน เพื่อกะขนาดตาข่ายให้พอเหมาะ ดูสวยงาม ไม่เกะกะ

  • เหลาไม้ไผ่ขนาดยาวตามต้องการ กว้างประมาณ 3/2 นิ้ว แล้วใช้ผ้าฝ้ายสีขาวพันให้เรียบร้อย

  • กะแบ่งช่องตามลายตาข่ายที่ต้องการ โดยให้มีระยะห่างเท่าๆ กัน เว้นด้านหัวและด้านท้ายของไม้เข้ามาประมาณ 1/8นิ้ว สำหรับร้อยผูกโยงตาข่ายขึ้นไปบรรจบกันตรงกลางด้านบนเผื่อชายไว้ต่อตุ้มและดอกรัก 3 ดอก

  • คัดดอกพุดหรือดอกมะลิให้มีขนาดเท่ากันเพื่อสะดวกในการร้อยตาข่ายตามช่องที่แบ่งไว้

ขั้นตอนการร้อย

  • ร้อยดอกพุดหรือดอกมะลิตามลายที่ต้องการ เช่น ลายเกล็ด ลายสี่ก้านสี่ดอก ลายกระเบื้อง ลายสามก้านสาม เป็นต้น โดยร้อยตามช่องที่แบ่งระยะไว้ ซึ่งแต่ละช่องจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า และเมื่อร้อยลดหลั่นกันลงมาเป็นชั้นๆ จนเหลือหนึ่งคู่สุดท้าย จะเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า เรียกว่า ตาข่ายหน้าช้าง

  • ร้อยดอกรักเป็นสายยาวขึ้นไปจากหัวและท้ายของมุมไม้ทั้งสองข้าง(ร้อยดอกตามกัน) หรือร้อยให้จุกเขียวของดอกชนกัน หรือร้อยให้แฉกดอกชนกัน แล้วผูกรวมกันตรงกลาง เหลือชายไว้สำหรับผูก

  • ร้อยตุ้งติ้งตกแต่งชายทั้ง 2 ข้างของตาข่าย โดยร้อยดอกบานไม่รู้โรย 1 ดอก เป็นดอกตุ้มใส่กลีบเลี้ยงเป็นหมวก แล้วร้อยดอกรัก 1ดอก เป็นดอกสวม

  • ร้อยอุบะไทยทรงเครื่อง 3 พวง ผูกที่ชายด้านล่าง มุมด้านขวาและมุมด้านซ้าย

  • ฝานกาบกล้วยยาวเท่ากับไม้ไผ่ที่ใช้ทำโครง กว้าง 3/8 นิ้ว นำมาเย็บสวน โดยใช้ดอกเข็มเย็บสลับกับใบปริก แล้วนำส่วนที่ได้มาเย็บติดกับโครงตาข่ายทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

  • นำใบตองมาซ้อนสลับหัวท้ายกัน ตรึงตรงกลางใบตองเป็นรูปดอกจันเล็กๆ ตัดเป็นรูปวงกลม เย็บแบบด้วยกลีบดอกกุหลาบ จำนวน 4 ชิ้น แล้วนำแบบมาติดที่มุม 2 มุมที่ปลายไม้ทั้งสองข้าง ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เพื่อปิดรอยต่อของอุบะและสวน

  • นำตาข่ายหน้าช้างดอกไม้สดไปแขวนประดับตกแต่งตามสถานที่ที่ต้องการ


 
 
 

Comments


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page